มงคลที่ 10 : สุภาสิตา จ ยา วาจา วาจาที่เป็นสุภาษิต


11214372_799273310193228_6570119812825234605_n


วาจาหมายถึง คำพูดที่ออกเสียงที่บุคคลอื่นเข้าใจเนื้อความ วาจานั้นย่อมเป็นของกลาง จะดีหรือชั่ว    ก็แล้วตาเจตนาของผู้พูดมุ่งจะให้เป็นไป

วาจาชั่ว ยกเสียไม่ต้องกล่าวถึง ส่วนวาจาที่จัดว่าเป็นสุภาษิต ต้องประกอบไปด้วยองค์อันเป็นคุณ และปราศจากองค์อันเป็นโทษ จึงจะไม่เป็นทุพภาษิต… ไม่มีโทษที่บัณฑิตจะพึงติเตียน

    ลักษณะแห่งคำเป็นสุภาษิต องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ 5 สถาน คือ

    • วาจาที่บุคคลพูดถูกกาล ๑

    • วาจาที่บุคคลพูดจริง ๑

    • วาจาที่บุคคลพูดอ่อนหวาน๑

    • วาจาที่บุคลพูดประกอบด้วยประโยชน์๑

    • วาจาที่บุคคลพูด้วยจิตเมตตา๑

      วาจาที่ประกอบด้วยองค์๕ นี้ จึงจะจัดเป็นสุภาษิตวาจาถึงจะดี แต่ถ้าผู้พูดไม่รู้จักกาลอันควรหรและไม่ควร นึกจะพูดก็พูด เช่นนี้อาจจะทำให้สียผลต่อรู้จักผลในกาลอันควร จึงจะสำเร็จประโยชน์ได้ แต่ถึงบุคคลรู้จักพูดในกาลอันควร ถ้าวาจานั้นเป็นเท็จ ก็ไม่จัดเป็นวาจาที่ชอบ เพราะถึงจะสำเร็จประโยชน์ก็เป็นทางล่อลวง ต่อเป็นคำสัตย์จริง จึงจะจัดว่าเป็นสุภาษิตที่ควรไว้วางใจของคนทั้งหลาย ถึงบุคคลผู้รู้จักกล่าวถูกกาลและเป็นคำสัตย์จริง แต่กล่าวด้วยคำหยาบ ก็คงไม่มีผู้ปรารถนาฟัง ต่อกล่าววาจาอ่อนหวานจึงจะเป็นเครื่องดูดดื่มน้ำใจคน คำพูดถึงถูกกาล ทั้งจริง ทั้งอ่อนหวาน แต่ไม่เป็นประโยชน์ก็เสียเวลาเปล่า ต่อประกอบด้วยประโยชน์จึงจะจัดเป็นวาจาที่ชอบ วาจาถึงประกอบด้วยองค์อันเป็นคุณประกอบแล้ว แต่ถ้าผู้พูดปราศจากจิตเมตตา ประกอบด้วยอคติ ก็เป็นวาจาไม่บริสุทธิ์

      องค์อันสำคัญอีกประการหนึ่งที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงไว้ ก็คือ “คำอันเป็นธรรม” เพราะถึงประกอบด้วยองค์ดังกล่าวแล้ว แต่ถ้านอกไปจาก ทำนองคลองธรรมก็ใช้ไม่ได้ ส่วนคำพูดอย่างอื่น ถึงจะเป็นวาจาอันน่าฟัง จูงใจผู้อ่านผู้ฟังให้ขบขัน ตื่นเต้น หรือเศร้าโศกสลดตาม องค็สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงค้านว่าไม่เป็นสุภาษิต เพราะไม่นำประโยชน์มาให้แก่ตนและผู้อื่นในทางอันเป็นธรรม ต่อประกอบไปด้วยองค์อันเป็นอันเป็นคุณดังกล่าวแล้วจึงทรงอนุโมทนา

      วาจาอันเป็นสุภาษิตนี้ เมื่อมีอยู่ในบุคคลใด ก็เป็นเหตูนำความเจริญมาให้แก่บุคคลนั้น

      เมื่อพูดถูกกาล ก็เป็นอันแสดงว่าผู้พูดเป็นกาลัญญู (ผู้รู้จักกาล) เมื่อพูดจริง ก็เป็นอันแสดงว่าผู้พูดเป็นผู้มั่นในคำสัตย์ เมื่อพูดอ่อนหวานก็เป็นอันแสดงว่าผู้พูดเป็นสุภาพชน เมื่อพูดประกอบด้วยประโยชน์ ผู้พูดและผู้ฟังก็ไม่ไร้ผล เมื่อกล่าวด้วยเมตตาจิตก็เป็นอันแสดงเจตนาดีของผู้พูด

      ด้วยเหตุนั้นพระพุทธองค์จึงตรัส วาจาเป็นสุภาษิต จึงจัดเป็นมงคลอันอุดมประการหนึ่ง

      แม้หวานชื่น มีตื่น หลายหมื่นแสน

      ไม่เหมือนแม้น คำขาน ที่หวานหอม

      รสคำหวาน หวานหวน ชวนประนอม

      สามารถน้อม จิตร้าย ให้กลายดี


      ที่มา: มงคลชีวิต , หลักปฏิบัติมงคล 38 ประการของคนดี ของ พระธรรมโกศาจารย์

      ธรรมสภา จัดพิมพ์เผยแพร่

      ภาพประกอบ : https://www.facebook.com/296896040430960/photos/a.297127177074513.71867.296896040430960/799273310193228/?type=1&theater

      0 ความคิดเห็น:

      แสดงความคิดเห็น