รีวิว มงคลที่ 16 : ธมฺจริยา จ ความประพฤตเป็นธรรม





มงคลที่ 16 : ธมฺจริยา จ  ความประพฤตเป็นธรรม

     ความประพฤติเป็นธรรม คือความประพฤติสุจริต จะประกอบกิจการอย่างใด ทางกาย วาจา หรือใจ ก็ให้เป็นสุจริต ไม่ผิดธรรม
     ปราศจากความเบียดเบียนผู้อื่น ทั้งทางกายและวาจา แม้ทางใจก็มิให้มีเจตนาเกิดขึ้น เว้นจากการเบียดเบียนชีวิตและความสุข เบียดเบียนทรัพย์สมบัติ เบียดเบียนประเวณี มีกัลยาณธรรมประจำที่ คือ มีเมตตากรุณา เห็นสุขทุกข์ของผู้อื่น ประกอบการเลี้ยงชีพเป็นสัมมาอาชีวะ ยินดีเฉพาะแต่ในคู่ครองของตน นี้เป็นส่วนกาย
     เว้นจากการกล่าวเท็จ กล่าวส่อเสียดยุยงเขา พูดเหลวไหลไม่ได้ประโยชน์ รักษาวาจาให้เป็นหลักฐานที่เชื่อฟังได้ ชักนำบุคคลในทางสามัคคี มีวจาอ่อนหวาน น่าคบเป็นสหาย จะกล่าวคำใดก็ประกอบด้วยเหตุผลไม่ไร้ประโยชน์  นี้เป็นส่วนวาจา
     ส่วนจิต...ไม่คิดโลภ  รู้จักพอด้วยของของตนที่มีอยู่ ไม่ตระหนี่ พอจะเผื่อแผ่แก่ผู้อื่นได้ แต่ก็ไม่สุรุ่ยสุร่ายนัก ไม่พยาบาทปองร้าย มีใจเย็น แช่มชื่นด้วยเมตตากรุณา รู้จักอดรู้จักยั้ง ไม่ผลุนผลัน ดำเนินตนให้เกิดปัญญา มีปรีชารู้ เท่าถึงการณ์ ชอบแก่เหตุผล
     ในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดจะเป็นความดีแก่มนุษย์ยิ่งกว่ากิริยาวาจาใจที่ตั้งอยู่ในธรรมจริยา ซึ่งเป็นการประพฤติความดีความถูก หรือทำดีทำถูก
     แนวปฏิบัติประพฤติธรรมมีอยู่่ ๒ สถาน คือ ประพฤติเป็นยุติธรรม และประพฤติเป็นสุจริคธรรม
ประพฤตเป็นยุติธรรมคือ ยึดหลักถือหลักรักษาหลักที่เที่ยงตรง แน่นอน ประกอบด้วยสัตย์ ความเที่ยงธรรม และความหยั่งรู้นี่เรียกว่าความยุติธรรม
     คนผู้ยึดหลักเที่ยงตรง แน่นอน ถูกชอบสมควรสงวนสิทธิคืออำนาจที่ชอบธรรม ในส่วนควรใด้ ควรมี ควรเป็นของมนุษย์ ทำให้ผู้ได้ ผู้มี ผู้เป็นเต็มใจ เห็นเป็นส่วนเสมอหน้ากัน สมควรแก่ส่วน ควรได้ ควรมี ควรเป็น ปราศจากอาการเหลื่อมล้ำต่ำสูง ไม่เป็นเหตุก่อให้เกิดน้อยเนื้อต่ำใจหรืออับอายขายหน้าแก่กันและกันเช่นนี้ นี่คือผู้ประพฤติเป็นยุติธรรม
     ประพฤติเป็นสุจริคธรรม นั้นหมายถึงการประพฤติเป็นกุศลบถ อันเป็นที่รวมแห่งความดี มีจุดสำคัญอยู่ที่เว้นพูดชั่ว คิดชั่ว ทำชั่ว และพูดดี คิดดี ทำดี
     ประพฤติสุจริคธรรมนั้น มีลักษณะปรากฎอยู่ที่ตัวผู้ประพฤติเองเช่น
     ประพฤติเป็นสุจริคในบุคคลที่เกี่ยวข้อง ด้วยการปฏิบัติชอบต่อกัน
     ประพฤติเป็นสุจริคในการอาชีพเว้นการเลี้ยงชีพในทางทุจริต ขยันหมั่นเพียรในทางสุจริต ถูกต้อง
     ประพฤติเป็นสุจริคในหน้าที่ ทำงานในหน้าที่ใดก็ถือหน้าที่นั้นเป็นสำคัญ ทำการงานให้สำเร็จผลเป็นอันดี
     ผู้ปฏิบัติตนเช่นนี้ ชื่อว่าเป้นผู้ประพฤติธรรม ย่อมจะชักพาตนให้ถึงความเจริญ นับเป็นมงคลประการหนึ่ง

         ธรรมสภา จัดพิมพ์เผยแพร่
ภาพประกอบ
https://www.facebook.com/296896040430960/photos/a.297127177074513.71867.296896040430960/855417227912169/?type=3&theater

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น